วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ดอกไม้ประจำจังหวัดจันทบุรี
ชื่อดอกไม้ ดอกเหลืองจันทบูร
ชื่อสามัญ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Dendrodium friedericksianum Rchb. f.
วงศ์ ORCHIDACEAE
ชื่ออื่น หวายเหลืองจันทบูร
ลักษณะทั่วไป เป็นกล้วยไม้ที่มีลำลูกกล้วยลักษณะเป็นโคนเล็กแล้วค่อยโป่งไปทางตอนปลายขนาดลำยาวมาก บางต้นยาวถึง 75 เซนติเมตร เมื่อลำแก่จะเป็นสีเหลืองโดยด้านข้างของลำจะมีใบอยู่ทั้งสองข้าง ออกดอกในเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน ช่อดอกออกตามข้อของลำ ออกดอกเป็นช่อ ๆ ละ 2–4 ดอก กลีบดอกเป็นมัน รอบแรกดอกจะเป็นสีเหลืองอ่อนแล้วจะค่อยๆ เข้มขึ้นจนเป็นสีจำปา ปากสีเข้มกว่ากลีบ ในคอมีสีแต้มเป็นสีเลือดหมู 2 แต้ม ขนาดดอกโตประมาณ 5 เซนติเมตร
การขยายพันธุ์ แยกลำ
สภาพที่เหมาะสม เป็นกล้วยไม้รากอากาศ ชอบอากาศชื้น
ถิ่นกำเนิด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างและภาคตะวันออก
ดอกไม้ประจำจังหวัดตราด
ชื่อดอกไม้ ดอกกฤษณา
ชื่อสามัญ Eagle Wood, Lignum Aloes, Agarwood, Aloe Wood, Calambac, Aglia, Akyaw
ชื่อวิทยาศาสตร์ Aquilaria subintegra Ding Hau
วงศ์ THYMELAEACEAE
ชื่ออื่น กฤษณา (ภาคตะวันออก), กายูการู กายูกาฮู (มาเลเซีย ปัตตานี), ไม้หอม (ภาคตะวันออก ภาคใต้)
ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ถึงขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 20-30 เมตร ไม่ผลัดใบ ลำต้นตรง เรือนยอดเป็นพุ่มทรงเจดีย์ เนื้อไม้มีสีขาว ต้นไม้ชนิดนี้หากมีบาดแผลซึ่งอาจเกิดจากการตัด แมงเจาะใช หรือเป็นโรคจะขับสารชนิดหนึ่งที่อยู่ในลำต้นออกมาทำหน้าที่ ต้านความผิดปกติเหล่านั้น ทำให้บริเวณที่เกิดแผลดังกล่าวเปลี่ยน เป็นสีดำและก่อตัวเป็นผลึก ทำให้เกิดความแข็งแกร่งของเนื้อไม้ ที่ชาวบ้านเรียกกันว่า &กฤษณา" มีกลิ่นหอม ความผิดปกติ จะขยายไปเรื่อยๆ ทำให้สีดำมีเพิ่มมากขึ้น ซึ่งแก่นกฤษณา ที่มีสีดำนั้น ถือว่าเป็นไม้คุณภาพชั้นหนึ่ง มีราคาสูงมาก หากมีสีน้ำตาลเทา คุณภาพจะรองลงมา ถ้ามีสีเหลืองปนดำ ถือว่าเป็นคุณภาพต่ำ ซึ่งไม้กฤษณาเป็นสินค้าที่นำมาทำ หัวน้ำหอม ตลอดจนเครื่องหอมหลายชนิด
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม ที่ชุ่มชื้นตามป่าดงดิบชื้นและแล้ง หรือที่ราบใกล้กับแม่น้ำ ลำธาร สามารถขึ้นได้ในที่สูงถึง 1,100 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลางหรือมากกว่า
ถิ่นกำเนิด พบในป่าดงดิบของจังหวัดระยอง จันทบุรี ตราด
ดอกไม้ประจำจังหวัดชลบุรี
ชื่อดอกไม้ ดอกประดู่
ชื่อสามัญ Angsana, Padauk
ชื่อวิทยาศาสตร์ Pterocarpus indicus Willd
วงศ์ LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น สะโน (ภาคใต้)
ลักษณะทั่วไป ลำต้นสูง 10–20 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดกลมหรือรูปเจดีย์เตี้ย แผ่กว้าง หนาทึบ ใบประกอบขนนก รูปไข่ เรียบหนา ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง มี 5 กลีบ สีเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ดอกบานแล้วร่วงพร้อมๆ กัน ออกดอกช่วงเดือน เมษายน-สิงหาคม
การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม ดินทั่วไป ชอบแสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิด อินเดีย, พม่า, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์

วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


ดอกอินทนิลน้ำ
ดอกไม้ประจำจังหวัดสกลนคร

ดอกไม้ประจำจังหวัดสกลนคร-ดอกอินทนิลน้ำ

ดอกไม้ประจำจังหวัด

สกลนคร

ชื่อดอกไม้

ดอกอินทนิลน้ำ

ชื่อสามัญ

Queen’s Flower, Queen’s Crape Myrtle, Pride of India

ชื่อวิทยาศาสตร์

Lagerstroemia speciosa Pers.

วงศ์

LYTHRACEAE

ชื่ออื่น

ฉ่วงมู (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), ตะแบกดำ (กรุงเทพฯ), บางอ บะซา (มลายู-ยะลา, นราธิวาส), บาเอ บาเย (ปัตตานี), อินทนิล (ภาคกลาง), อินทนิลน้ำ (ภาคกลาง, ภาคใต้)

ลักษณะทั่วไป

เป็นไม้ยืนต้นสูง 10–15 เมตร ลำต้นเปลาตรง เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ผิวเปลือกนอกสีเทา ใบเป็นใบเดี่ยว รูปรีหรือรูปไข่แกมขอบขนาน ปลายใบมน ดอกย่อยขนาดใหญ่ กลีบดอกสีชมพู สีม่วงแกมชมพู หรือสีม่วง ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม-มิถุนายน ผลเป็นผลแห้ง มีขนาดใหญ่

การขยายพันธุ์

โดยการเพาะเมล็ด

สภาพที่เหมาะสม

ดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง

ถิ่นกำเนิด

ที่ราบลุ่มริมน้ำ ป่าเบญจพรรณชื้นและป่าดิบทั่วไป

ดอกพะยอม
ดอกไม้ประจำจังหวัดกาฬสินธุ์, พัทลุง

ดอกไม้ประจำจังหวัดกาฬสินธุ์,พัทลุง-ดอกพะยอม

ดอกไม้ประจำจังหวัด

กาฬสินธุ์, พัทลุง

ชื่อดอกไม้

ดอกพะยอม

ชื่อสามัญ

Shorea white Meranti

ชื่อวิทยาศาสตร์

Shorea talura Roxb.

วงศ์

DIPTEROCARPACEAE

ชื่ออื่น

กะยอม (เชียงใหม่), ขะยอม (ลาว), ขะยอมดง พะยอมดง (ภาคเหนือ), แคน (ลาว), เชียง เซี่ยว (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), พะยอม (ภาคกลาง), พะยอมทอง (สุราษฎร์ธานี, ปราจีนบุรี), ยางหยวก (น่าน)

ลักษณะทั่วไป

พะยอมเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ 15–20 เมตร ทรงพุ่มกลม ผิวเปลือกสีน้ำหรือเทา เนื้อไม้มีสีเหลืองแข็ง ลำต้นแตกเป็นร่องตามยาวมีสะเก็ดหนา ใบเป็นรูปมนรี ปลายใบแหลม โคนใบสอบมน ขอบใบเรียบ ด้านหลังใบมีเส้นใบชัด ดอกออกเป็นช่อ ใหญ่ส่วนยอดของต้น ดอกมีกลีบ 3 กลีบ โคนกลีบดอกติดกับก้านดอกมีลักษณะกลม กลีบดอกเรียบโค้งเล็กน้อย มีสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอม

การขยายพันธุ์

การเพาะเมล็ด

สภาพที่เหมาะสม

สภาพดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง สามารถปรับเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดีมาก

ถิ่นกำเนิด

พบตามป่าผลัดใบ และป่าดิบ เป็นไม้พื้นเมืองของเอเชีย ไทย, พม่า, มาเลเซีย

วันศุกร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2556

ดอกไม้ประจำจังหวัดมุกดาหาร

จังหวัดมุกดาหาร    
สัญญลักษณ์ประจำจังหวัด
ดอกช้างน้าว


เมืองมุกดาหาร เคยเป็น"เีมือง"มาก่อนถึง 173 ปี ถูกยุบเป็นอำเภอเมืองมุกดาหาร ขึ้นกับเมืองนครพนม แล้ว จึงได้เปิด ที่ว่าการอำเภอเมืองมุกดาหาร 1 ตุลาคม พ.ศ.2450 จนถึง พ.ศ.2459 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศให้เปลี่ยนคำว่าเมือง เป็นจังหวัด ให้เหมือนกันหมดทั่วราชอาณาจักร ตามประกาศ
กระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ.2459( ราชกิจจานุเบกษา) พ.ศ.2459 เมืองนครพนม
จึงเปลี่ยนเป็น จังหวัดนครพนม และอำเภอเมืองมุกดาหาร ก็เปลี่ยนเป็นอำเภอมุกดาหาร ขึ้นกับจังหวัดนครพนม ในการปกครองของมณฑลอุดร

พ.ศ. 2525 รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดมุกดาหาร พ.ศ. 2525 ยกฐานะอำเภอ มุกดาหารเป็นจังหวัด ตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน 2525
ดอกช้างน้าว 
     พััััััันธุ์ไม้ที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงโปรดพระราชทานกล้าไม้มงคลให้ผู้ว่าราชการจังหวัด
ทุกจังหวัด นำไปปลูกเป็นศิริมงคลในวันเริ่มโครงการในงานรณรงค์โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ ฯ
เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2537 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
ช้างน้าว ( Ochna integerrima (Lour.) Merr.)
พันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลจังหวัดมุกดาหาร
ชื่อวิทยาศาสตร์ Ochna integerrima (Lour.) Merr.
 
วงศ์ 
OCHNACEAE
ชื่ออื่น
 ช้างโน้ม ช้างโหม กำลังช้างสาร ตาลเหลือง 
ไม้ต้น 
ขนาดเล็ก ผลัดใบ สูง 3 - 8 เมตร ตามปลายกิ่งมีกาบหุ้มตา แข็งและแหลม
ใบ 
ใบเดี่ยวเรียงสลับแผ่นใบรูปขอบ ขนาน รูปไข่กลับ หรือรูปใบหอกกลับ กว้าง 4 - 7 เซนติเมตร ยาว 8 - 18 เซนติเมตร ปลายเรียวแหลม หรือมน โคน ใบสอบแหลม ขอบใบจักถี่ ๆ แผ่นใบเรียบเกลี้ยงเป็นมัน 
ดอก 
สีเหลือง ออกเป็นช่อสั้นตามกิ่ง เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์ กลางประมาณ 3 - 4 เซนติเมตร
ผล
 ผลกลม เมื่อสุกสีดำ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร ติดอยู่บนฐานรอง ดอกสีแดง เมล็ด 1 - 3 เมล็ด สีเขียว 

นิเวศวิทยา ถิ่นกำเนิดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 
ออกดอก มกราคม- พฤษภาคม
ขยายพันธุ์ โดยเมล็ด ตอนกิ่ง และปักชำกิ่ง
ประโยชน์ ราก ใช้ขับพยาธิ แก้น้ำเหลืองเสีย ปลูกเป็นไม้ประดับ 

สัญญลักษณ์ประจำจังหวัดมุกดหาร
รูปปราสาท 
ภายในมีปราสาทชื่อ สองนางสถิตย์ ภายในปราสาทองค์กลางมีแก้วมุกดาหารอยู่บนพาน ใต้พานมีผ้าทิพย์รองรับ หน้าผ้าทิพย์มีอักษรไขว้ชื่อย่อจังหวัด ในปราสาทองค์ริมทั้งสองข้าง มีบายศรียนตะลุ่มอันเป็นเครื่องบูชาของชาวอีสาน เบื้องหลังมีพระธาตุพนมซึ่งจังหวัดมุกดาหารแยกมา และเคยอยู่ในอาณาจักรโคตรบูรณ์เดียวกัน
มีแนวแม่น้ำโขงอยู่ด้านหลัง ด้านตะวันออก พระอาทิตย์กำลังทอแสงหลังหมู่ก้อนเมฆ 2525 เป็นปีที่ตั้งจังหวัด
มุกดาหาร 
ต้นไม้ประจำจังหวัด(ต้นช้างน้าว) ดอกไม้ประจำจังหวัด (ดอกช้างน้าว)
มีขนาดพื้นที่
4,194.027
ตร.กม.
    
ประกอบไปด้วย
7
อำเภอ
    
 
ตำบล
หมู่บ้าน
ชุมชน
6
เทศบาล
อบต.
  
ลำดับ
อำเภอ/กิ่งอำเภอ
ปี พ.ศ. 2549
คลิกดูรายละเอียด
พื้นที่
(ตร.กม.)
ตำบล
หมู่บ้าน
ชุมชน
เทศบาล
อบต.
1
1,198.355
13
149
61
3
12
2
433.875
7
79
13
1
7
3
 อ.ดอนตาล
489.924
7
63
6
1
7
4
957.062
6
60
0
0
6
5
663.483
9
88
5
1
9
6
 อ.หว้า่นใหญ่
161.802
5
43
0
0
5
7
289.526
6
44
0
0
6
 
รวม
4,194.027
53
526
85
6
52

ดอกไม้ประจำวันแม่


ดอกมะลิ ดอกไม้ วันแม่

ดอกมะลิ ดอกไม้ วันแม่
วันแม่ ใน สมัยก่อนนั้นไม่มีการกำหนดวันแม่ให้แน่ชัดเนื่องจากเกิดเหตุการณ์หลายอย่าง การจัดวันแม่ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2486 ณ สวนอัมพร แต่เนื่องจากช่วงนั้น เป็นช่วงสงครามโลก ปีต่อมาจึงงด หลายฝ่ายพยายามรื้อฟื้นวันแม่ขึ้นมา แต่ไม่ประสบความสำเร็จ และได้วันที่เป็นที่รับรองของรัฐบาล คือวันที่ 15 เมษายน เริ่มขึ้นในปี 2493 จัดในวันนี้ไปอีกหลายปีแต่ต้องหยุดชะงักลง เพราะกระทรวงวัฒนธรรมโดนยุบ ต่อมาได้กำหนดจัดวันแม่วันที่ 4 ตุลาคม เริ่มในปี 2515 แต่จัดได้เพียงปีเดียวก็เลิกไป จนกระทั่งในปี 2519 คณะกรรมการอำนวยการ สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์เห็นว่าควรกำหนดวันแม่ให้แน่นอนเสียที จึงได้กำหนดวันแม่ใหม่โดยให้ถือว่าวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคม เป็นวันแม่แห่งชาติ และ กำหนดให้ดอกมะลิเป็นดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ตั้งแต่นั้นมา
เหตุผลที่ให้ดอกมะลิ เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ ก็เนื่องจาก ดอกมะลิเป็นดอกไม้ที่มีสีขาวบริสุทธิ์ ส่งกลิ่นหอมไปไกลและหอมได้นาน อีกทั้งยังออกดอกได้ตลอดทั้งปี เปรียบได้กับ ความรักอันบริสุทธิ์ของแม่ที่มีต่อลูกไม่มีวันเสื่อมคลาย…