วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ดอกไม้ประจำจังหวัดจันทบุรี
ชื่อดอกไม้ ดอกเหลืองจันทบูร
ชื่อสามัญ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Dendrodium friedericksianum Rchb. f.
วงศ์ ORCHIDACEAE
ชื่ออื่น หวายเหลืองจันทบูร
ลักษณะทั่วไป เป็นกล้วยไม้ที่มีลำลูกกล้วยลักษณะเป็นโคนเล็กแล้วค่อยโป่งไปทางตอนปลายขนาดลำยาวมาก บางต้นยาวถึง 75 เซนติเมตร เมื่อลำแก่จะเป็นสีเหลืองโดยด้านข้างของลำจะมีใบอยู่ทั้งสองข้าง ออกดอกในเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน ช่อดอกออกตามข้อของลำ ออกดอกเป็นช่อ ๆ ละ 2–4 ดอก กลีบดอกเป็นมัน รอบแรกดอกจะเป็นสีเหลืองอ่อนแล้วจะค่อยๆ เข้มขึ้นจนเป็นสีจำปา ปากสีเข้มกว่ากลีบ ในคอมีสีแต้มเป็นสีเลือดหมู 2 แต้ม ขนาดดอกโตประมาณ 5 เซนติเมตร
การขยายพันธุ์ แยกลำ
สภาพที่เหมาะสม เป็นกล้วยไม้รากอากาศ ชอบอากาศชื้น
ถิ่นกำเนิด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างและภาคตะวันออก
ดอกไม้ประจำจังหวัดตราด
ชื่อดอกไม้ ดอกกฤษณา
ชื่อสามัญ Eagle Wood, Lignum Aloes, Agarwood, Aloe Wood, Calambac, Aglia, Akyaw
ชื่อวิทยาศาสตร์ Aquilaria subintegra Ding Hau
วงศ์ THYMELAEACEAE
ชื่ออื่น กฤษณา (ภาคตะวันออก), กายูการู กายูกาฮู (มาเลเซีย ปัตตานี), ไม้หอม (ภาคตะวันออก ภาคใต้)
ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ถึงขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 20-30 เมตร ไม่ผลัดใบ ลำต้นตรง เรือนยอดเป็นพุ่มทรงเจดีย์ เนื้อไม้มีสีขาว ต้นไม้ชนิดนี้หากมีบาดแผลซึ่งอาจเกิดจากการตัด แมงเจาะใช หรือเป็นโรคจะขับสารชนิดหนึ่งที่อยู่ในลำต้นออกมาทำหน้าที่ ต้านความผิดปกติเหล่านั้น ทำให้บริเวณที่เกิดแผลดังกล่าวเปลี่ยน เป็นสีดำและก่อตัวเป็นผลึก ทำให้เกิดความแข็งแกร่งของเนื้อไม้ ที่ชาวบ้านเรียกกันว่า &กฤษณา" มีกลิ่นหอม ความผิดปกติ จะขยายไปเรื่อยๆ ทำให้สีดำมีเพิ่มมากขึ้น ซึ่งแก่นกฤษณา ที่มีสีดำนั้น ถือว่าเป็นไม้คุณภาพชั้นหนึ่ง มีราคาสูงมาก หากมีสีน้ำตาลเทา คุณภาพจะรองลงมา ถ้ามีสีเหลืองปนดำ ถือว่าเป็นคุณภาพต่ำ ซึ่งไม้กฤษณาเป็นสินค้าที่นำมาทำ หัวน้ำหอม ตลอดจนเครื่องหอมหลายชนิด
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม ที่ชุ่มชื้นตามป่าดงดิบชื้นและแล้ง หรือที่ราบใกล้กับแม่น้ำ ลำธาร สามารถขึ้นได้ในที่สูงถึง 1,100 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลางหรือมากกว่า
ถิ่นกำเนิด พบในป่าดงดิบของจังหวัดระยอง จันทบุรี ตราด
ดอกไม้ประจำจังหวัดชลบุรี
ชื่อดอกไม้ ดอกประดู่
ชื่อสามัญ Angsana, Padauk
ชื่อวิทยาศาสตร์ Pterocarpus indicus Willd
วงศ์ LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น สะโน (ภาคใต้)
ลักษณะทั่วไป ลำต้นสูง 10–20 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดกลมหรือรูปเจดีย์เตี้ย แผ่กว้าง หนาทึบ ใบประกอบขนนก รูปไข่ เรียบหนา ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง มี 5 กลีบ สีเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ดอกบานแล้วร่วงพร้อมๆ กัน ออกดอกช่วงเดือน เมษายน-สิงหาคม
การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม ดินทั่วไป ชอบแสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิด อินเดีย, พม่า, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์

วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


ดอกอินทนิลน้ำ
ดอกไม้ประจำจังหวัดสกลนคร

ดอกไม้ประจำจังหวัดสกลนคร-ดอกอินทนิลน้ำ

ดอกไม้ประจำจังหวัด

สกลนคร

ชื่อดอกไม้

ดอกอินทนิลน้ำ

ชื่อสามัญ

Queen’s Flower, Queen’s Crape Myrtle, Pride of India

ชื่อวิทยาศาสตร์

Lagerstroemia speciosa Pers.

วงศ์

LYTHRACEAE

ชื่ออื่น

ฉ่วงมู (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), ตะแบกดำ (กรุงเทพฯ), บางอ บะซา (มลายู-ยะลา, นราธิวาส), บาเอ บาเย (ปัตตานี), อินทนิล (ภาคกลาง), อินทนิลน้ำ (ภาคกลาง, ภาคใต้)

ลักษณะทั่วไป

เป็นไม้ยืนต้นสูง 10–15 เมตร ลำต้นเปลาตรง เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ผิวเปลือกนอกสีเทา ใบเป็นใบเดี่ยว รูปรีหรือรูปไข่แกมขอบขนาน ปลายใบมน ดอกย่อยขนาดใหญ่ กลีบดอกสีชมพู สีม่วงแกมชมพู หรือสีม่วง ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม-มิถุนายน ผลเป็นผลแห้ง มีขนาดใหญ่

การขยายพันธุ์

โดยการเพาะเมล็ด

สภาพที่เหมาะสม

ดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง

ถิ่นกำเนิด

ที่ราบลุ่มริมน้ำ ป่าเบญจพรรณชื้นและป่าดิบทั่วไป

ดอกพะยอม
ดอกไม้ประจำจังหวัดกาฬสินธุ์, พัทลุง

ดอกไม้ประจำจังหวัดกาฬสินธุ์,พัทลุง-ดอกพะยอม

ดอกไม้ประจำจังหวัด

กาฬสินธุ์, พัทลุง

ชื่อดอกไม้

ดอกพะยอม

ชื่อสามัญ

Shorea white Meranti

ชื่อวิทยาศาสตร์

Shorea talura Roxb.

วงศ์

DIPTEROCARPACEAE

ชื่ออื่น

กะยอม (เชียงใหม่), ขะยอม (ลาว), ขะยอมดง พะยอมดง (ภาคเหนือ), แคน (ลาว), เชียง เซี่ยว (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), พะยอม (ภาคกลาง), พะยอมทอง (สุราษฎร์ธานี, ปราจีนบุรี), ยางหยวก (น่าน)

ลักษณะทั่วไป

พะยอมเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ 15–20 เมตร ทรงพุ่มกลม ผิวเปลือกสีน้ำหรือเทา เนื้อไม้มีสีเหลืองแข็ง ลำต้นแตกเป็นร่องตามยาวมีสะเก็ดหนา ใบเป็นรูปมนรี ปลายใบแหลม โคนใบสอบมน ขอบใบเรียบ ด้านหลังใบมีเส้นใบชัด ดอกออกเป็นช่อ ใหญ่ส่วนยอดของต้น ดอกมีกลีบ 3 กลีบ โคนกลีบดอกติดกับก้านดอกมีลักษณะกลม กลีบดอกเรียบโค้งเล็กน้อย มีสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอม

การขยายพันธุ์

การเพาะเมล็ด

สภาพที่เหมาะสม

สภาพดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง สามารถปรับเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดีมาก

ถิ่นกำเนิด

พบตามป่าผลัดใบ และป่าดิบ เป็นไม้พื้นเมืองของเอเชีย ไทย, พม่า, มาเลเซีย